<Jaturapad>

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

News

Beartai | ข้อดีและข้อเสีย ของ HDD และ SSD

คุณสมบัติและการใช้งาน HDD กับ SSD
คุณสมบัติและการใช้งาน HDD SSD
ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล อ่านต่อเนื่องได้ความเร็วสูงสุดประมาณ 200 MB/s

ส่วนอ่านข้อมูลที่กระจายไปทั้งไดร์ฟ จะใช้เวลานานมากกว่า SSD มาก เพราะหัวอ่านต้องอ่านข้อมูลจากหลายจุด

เร็วได้สูงสุดประมาณ 3500 MB/s (ส่วน SSD ระดับองค์กรเร็วได้กว่านี้อีก)

และสามารถดึงข้อมูลที่เขียนลงในไดร์ฟแบบสุ่มได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์มาก

การเสื่อมสภาพ เมื่อเก็บฮาร์ดดิสก์ในที่แห้งและควบคุมอุณหภูมิ จะสามารถเก็บข้อมูลได้ยาวนาน แต่อาจมีปัญหากับส่วนมอเตอร์แทน ถ้าไม่มีไฟเลี้ยงนานๆ 1-2 ปี ข้อมูลจะเริ่มหายไป (ซึ่งไดร์ฟใหม่ๆ ผู้ผลิตเคลมว่าเก็บข้อมูลได้นานเป็นสิบปี)
ความทนทาน การศึกษาจากม. Carnegie Mellon บอกว่าฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กร เฉลี่ยแล้วจะเสียใน 6 ปี แต่บางกรณีอาจใช้งานได้ถึง 11 ปี
แต่ฮาร์ดดิสก์ก็เสียหายได้ง่ายจากแรงกระแทก และปัญหาระบบไฟ
SSD สามารถอ่าน-เขียนได้จำกัด แต่ไดร์ฟรุ่นใหม่ๆ จะมีการกระจายการเขียนข้อมูลไปทั่วไดร์ฟ ทำให้ SSD ใช้งานได้นานขึ้น แต่จังหวะจะเสีย อาจเสียได้ทั้งไดร์ฟ
ความเร็วในการเริ่มใช้งาน ต้องรอรอบจานหมุนให้ได้ระดับหลายวินาที เริ่มทำงานทันที
ราคาจำหน่าย ถูกกว่าและเข้าถึงง่าย แพงกว่า ยิ่งความจุเยอะ ยิ่งแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว
เสียงและการรบกวน มีเสียงระหว่างการทำงาน ไม่มีเสียง
หากเกิดอาการชำรุด สามารถส่งซ่อม หรือกู้ข้อมูลได้ ไม่สามารถกู้ข้อมูลได้

 

ข้อดี-ข้อเสียของ HDD กับ SSD
ข้อดี-ข้อเสีย HDD SSD
ข้อดี
  • ราคาที่ถูกกว่า SSD
  • มีรูปแบบการใช้งานของฮาร์ดดิสก์มีหลากหลายกว่า ทั้งแบบการบันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียว หรือการประมวลผลและการบันทึกข้อมูลตลอดเวลา หรืองานเฉพาะทาง เช่น ใช้กับการบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด
  • เมื่อตัว HDD เสียหาย ยังพอจะสามารถกู้ข้อมูลได้ (แม้จะมีราคาสูง)
  • สามารถเขียนและอ่านได้เร็วยิ่งกว่า HDD หลายเท่าตัว
  • มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ให้เลือกใช้งาน
  • เสียงเบาจนแทบไม่ได้ยิน เพราะ SSD เป็นแผ่นบอร์ดที่มีชิปบันทึกข้อมูล
  • สามารถเข้าถึงเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและทันทีไม่มีอาการหน่วง
ข้อเสีย
  • มีความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูล ช้ากว่า SSD
  • ใช้เวลานานในการเขียนและอ่านข้อมูล
  • มีเสียงรบกวนขณะฮาร์ดดิสก์ทำงาน ในช่วงการเขียนและอ่านข้อมูล
  • เกิดการเสื่อมสภาพจากการเขียนและอ่านของหัวเข็ม ตามกาลเวลา
  • เกิดความเสียหายของแผ่นจานเหล็กและหัวเข็ม เมื่อได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้
  • ราคาสูงกว่า HDD หลายเท่าตัว
  • ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ เมื่อ SSD เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่ง HDD ยังสามารถกู้ได้

 

ที่มา: 

  • Beartai.com. (2562). HDD หรือ SSD : ใครกันแน่ที่ดีกว่า? รู้ไหม SSD ไม่เสียบไฟนานๆ แล้วข้อมูลจะหาย!. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. จาก https://www.beartai.com/article/tech-article/342613.