<Jaturapad>

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

EducationmyWorkคุรุสภา

แนวทางการสอน เรื่องกระบวนการแก้ปัญหา

แนวทางการสอน เรื่องกระบวนการแก้ปัญหา แบ่งเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้

1. ขั้นกำหนดปัญหา
ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ปัญหาที่มาจากความสนใจของผู้เรียนส่วนใหญ่

2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ปัญหาและคาดคะเนคำตอบ พิจารณาแยกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย แล้วคิดอย่างเป็นระบบ

3. ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
เป็นขั้นที่ต้องหาสาเหตุที่เกิดปัญหาขึ้น และใช้เหตุผลในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุ โดยหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธี แล้วใช้วิธีพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาวิธีที่ดีที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด ในกรณีที่มีปัญหานั้นต้องตรวจสอบด้วยการทดลอง

4. ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล
เก็บและรวบรวมข้อมูลนี้เป็นผู้เรียนต้องค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ตำราเรียน การสังเกต การทดลอง การสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ จากสถิติต่างๆ และทำการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน

5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
เมื่อได้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้ว ผู้เรียนก็นำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือไหม เพื่อนำข้อมูลนั้นๆ ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่

6. ขั้นสรุปผล
เป็นขั้นที่นำข้อมูลมาพิจารณาระหว่างสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น ผู้เรียนประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเลือกวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหา เมื่อได้ข้อสรุปเป็นหลักการแล้ว ควรนำพิจารณาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

ที่มา:

คุรุสภา. (2563). แนวทางการสอน เรื่องกระบวนการแก้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/2004561786234562/posts/3765168870173836/?d=n.