<Jaturapad>

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

EducationNews

การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment Framework: Thailand Ed – DQAF)

การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment Framework: Thailand Ed – DQAF)

           โลกปัจจุบันได้มีการดําเนินงานด้านการบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศในการรวบรวมและจัดทําฐานข้อมูล (Database) ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านข้อมูลสามารถเข้าถึงอย่างสะดวก มีประสิทธิภาพของโครงสร้างของฐานข้อมูลที่ชัดเจน พร้อมพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศที่รองรับความต้องการของผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนได้เสีย สําหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนประเมินผลทางการศึกษา ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลที่สนับสนุนต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ประกอบกับกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งกําลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่ถูกผลิตมากขึ้น แต่พบว่าข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และขาดการให้ความสําคัญกับคุณภาพของข้อมูล (Data Quality) เพื่อนําสู่การใช้ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

            การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศ ได้รับความร่วมมือและต้นแบบในการประเมินคุณภาพข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co – operation and Development: OECD) และสถาบันสถิติแห่งองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Institute for Statistics: UIS) ในการจัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดตามแบบจัดเก็บของ WEI data collection ภายใต้โครงการ World Education Indicators (WEI) ที่จัดจำแนกการศึกษาตามมาตรฐานสากล (International Standard Classification of Education: ISCED 2011) โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกันเรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งมีการใช้อ้างอิงและเผยแพร่ระดับนานาชาติ สะท้อนถึงสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ปรากฏในรายงานต่าง ๆ เช่น Global Education Digest (GED), World Competitiveness Yearbook (WCY) และ The Global Competitiveness Report (GCR) เป็นต้น ดังนั้นระบบฐานข้อมูลที่มีคุณภาพสำคัญยิ่งต่อการวางแผนและพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลการพัฒนาทรัพยากรของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

              สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ศึกษาและพัฒนากรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment Framework: Thailand Ed-DQAF) เพื่อสร้างความพร้อมเข้าสู่แนวทางการดำเนินงานประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล ภายใต้กรอบของสถาบันสถิติแห่งองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Institute for Statistics: UIS) ที่ครอบคลุมกระบวนการประเมินการจัดทำข้อมูล ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล มีประเด็นสำหรับการประเมิน ประกอบด้วย 3 แนวคิดหลัก 8 หลักการ ดังนี้

กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษา

(Education Data Quality Assessment Framework: Ed – DQAF)

ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3cQoVp5

ที่มา:

  • eduzones.com. (2565). การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment Framework: Thailand Ed – DQAF).  สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565. จาก https://www.eduzones.com/2022/09/09/oec-ed-dqaf/.